WordPress คืออะไร ทำอะไรได้บ้าง พร้อมวิธีติดตั้งแบบง่ายที่สุด 

WordPress คืออะไร ทำอะไรได้บ้าง

ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่สร้างด้วย WordPress มากถึง 810 ล้านเว็บไซต์ ซึ่งคิดเป็นจำนวน 43% จากเว็บที่ออนไลน์อยู่บนอินเตอร์เน็ตค่ะ ในฐานะที่เว็บไซต์ Mingketar ก็สร้างด้วย WordPress ในบทความนี้จะมาอธิบายให้เห็นภาพกันมากขึ้นว่า WordPress คืออะไร สร้างเว็บไซต์แบบไหนได้บ้าง พร้อมบอกวิธีติดตั้ง WordPress แบบง่ายที่สุด โดยไม่ต้องเขียน Code เลยสักนิด

คลิกหัวข้อที่สนใจ ซ่อน

WordPress คืออะไร ?

WordPress คือ ระบบที่เอาไว้สร้างเว็บไซต์แบบที่ไม่ต้องเขียนโค้ด เพียงแค่ติดตั้ง WordPress ลงไปในเว็บไซต์ก็สามารถสร้างหน้าเว็บต่าง ๆ ต่อได้เลย WordPress จะเป็นระบบ CMS (Content Management System) ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการเนื้อหาในเว็บไซต์ได้ด้วยตัวเอง 

ลองนึกภาพว่าถ้าต้องการสร้างหน้า Homepage ขึ้นมา หากไม่ใช้ WordPress ก็จะต้องมานั่งเขียนโค้ดทีละส่วน กว่าหน้าแรกจะสมบูรณ์ก็ใช้เวลาพอตัว แต่ถ้าใช้ WordPress สร้างหน้า Homepage ต่อให้เราไม่มีความรู้เรื่องโค้ดเลยก็ทำได้เองค่ะ ผ่านการจัดการหน้าเว็บไซต์โดยใช้ Page Builder บอกเลยรวดเร็วกว่ามาก 

ส่วนประกอบสำคัญของระบบ WordPress

จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนสำคัญด้วยกัน คือ

1.ระบบ WordPress Core Engine : จะว่าไปตัวนี้ก็เป็นเหมือนกับโปรแกรมที่เอาติดตั้งในเว็บไซต์ เพื่อให้เว็บไซต์เรามีระบบ WordPress จะได้ทำการเพิ่ม แก้ไขเนื้อหาต่าง ๆ ในเว็บไซต์ได้อย่างสะดวก

wordpress core engine

Cr. developer.wordpress.org

2.Theme : เป็นดีไซน์ที่เอาไว้กำหนดเว็บไซต์เราว่ามีการแสดงผลประมาณไหน โดย Theme แต่ละแบบก็จะมีการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น บางแบบเหมาะกับการเว็บบล็อก เว็บขายของ หรือเว็บไซต์บริการทั่วไป

Theme WordPress

Notes : Theme WordPress สามารถหาซื้อได้ที่เว็บ Themeforest เลยค่ะ เจ้านี้เขามี Theme ให้เลือกเยอะมาก อย่างเว็บไซต์ Mingketar ของเราจะใช้เป็น Theme Flatsome ค่ะ

3.Page Builder : เป็นส่วนที่เอาไว้ใช้จัดการหน้าเว็บไซต์แต่ละหน้า สามารถปรับแต่งได้ตามที่ต้องการ ด้วยการ Drag & Drop เพื่อปรับเปลี่ยน Layout การแสดงผล

Page Builder

ตัวอย่าง UX Page Builder

4.Plugin : ตัวช่วยที่ทำให้เว็บไซต์มีระบบต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เช่น ระบบการขายสินค้าออนไลน์ ระบบการจอง ระบบส่งฟอร์ม ฯลฯ

Plugin WordPress

ประเภทของ WordPress ที่ควรรู้ก่อนติดตั้ง

1.Wordpress.com

การทำเว็บไซต์จาก WordPress.com ตัวเว็บที่ได้จะเป็นแบบ Sub Domain เช่น mingketar.wordpress.com ให้ความรู้สึกเหมือนกับว่าเราเช่า Hosting ของทาง WordPress.com เพื่อทำเว็บไซต์ค่ะ ซึ่งก็จะมีทั้งแบบฟรีและแบบเสียเงินรายปี – รายเดือน ถ้าต้องการให้ชื่อเว็บไซต์เป็นของตัวเองก็ต้องจ่ายเงินประมาณปีละ 10,000 บาท/เว็บไซต์

WordPress.com

ข้อดี : ไม่ต้องมาเหนื่อยเรื่องการอัปเดตเว็บไซต์เอง ทาง WordPress.com เขาดูแลจัดการให้หมด

ข้อจำกัด : ถ้าต้องการเว็บเป็นชื่อโดเมนของเรา ราคาต่อเว็บถือว่าสูงเอาเรื่องค่ะ ใครที่มีหลาย ๆ เว็บ การเลือกใช้แบบ WordPress.com ถือว่าไม่ตอบโจทย์สักเท่าไหร่ ?

คลิกอ่านเพิ่มเติม : โดเมน มีอะไรบ้าง มีกี่ประเภท ?

2.Wordpress.org

WordPress.org จะเป็นตัวโปรแกรมที่เราเข้าไปดาวน์โหลดและใช้งานได้ฟรี เพียงแต่ต้องจด Hosting + Domain เองเป็นรายปี ซึ่งเว็บไซต์ของพวกเราชาวมิงก็ใช้แบบ WordPress.org อยู่เช่นกัน เพราะมีราคาถูกกว่าการใช้ WordPress.com แต่ข้อจำกัดของมัน คือ เราต้องมานั่ง Maintainace อัปเดตระบบต่าง ๆ เอาทั้งหมด รวมถึงการ Backup ข้อมูลด้วย ซึ่งจะแตกต่างจาก WordPress.com ที่จะทำการจัดการให้หมด

WordPress.org

ข้อดี : ค่าจด Hosting + Domain ราคาถูก เริ่มต้นประมาณปีละ 1,000 บาท (ราคาขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ)

ข้อจำกัด : เราต้องอัปเดตเว็บไซต์ อัปเดตระบบด้วยตัวเองทั้งหมด จึงต้องมีความเข้าใจเรื่องการใช้งานเว็บไซต์ WordPress ระดับนึงค่ะ

WordPress ทำอะไรได้บ้าง ?

1.สร้างเว็บไซต์ธุรกิจให้บริการต่าง ๆ

เช่น เว็บองค์กร เว็บไซต์ธุรกิจที่มีสินค้าเป็นบริการ เช่น บริการรับล้างแอร์, รับจ้างปูหญ้าเทียม, รับทำขนมราคาส่ง ฯลฯ

ตัวอย่างเว็บ WordPress ธุรกิจองค์กร

ตัวอย่างเว็บ Packhai ที่ให้บริการ Fulfillment

2.สร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ E-Commerce

WordPress สามารถสร้างร้านค้าออนไลน์เพื่อให้ลูกค้าเจอธุรกิจของคุณได้ตลอด 24 ชั่วโมง แถมยังเลือกได้ด้วยว่าต้องการเว็บไซต์ E-Commerce ของเราเป็นแค่ Catalog ออนไลน์เพียงอย่างเดียว หรือจะให้สั่งซื้อ ชำระเงินผ่านหน้าเว็บไซต์ได้

ตัวอย่างเว็บ WordPress E-Commerce

ตัวอย่างเว็บ Kiattiyotuniform เว็บขายชุดข้าราชการ

3.สร้างเว็บบล็อก / เว็บคอนเทนต์

การสร้างเว็บบล็อกหรือเว็บคอนเทนต์ทั่วไป ตัว WordPress เองก็ทำได้เช่นกันค่ะ เหมาะกับสายบล็อก สายรีวิว รวมถึงคนที่ทำ Personal Branding มาก ๆ นอกจากนี้คนทำ SEO ยังนิยมทำ PBN โดย WordPress อีกด้วย

ตัวอย่างเว็บ WordPress Web Blog

ตัวอย่างเว็บ Naidee เว็บไซต์รีวิว

เหตุผลสำคัญที่ควรใช้ WordPress สร้างเว็บไซต์

1.ไม่ต้องเขียนโค้ดเป็น ก็สร้างเว็บไซต์ได้

อย่างที่เคยกล่าวไปแล้วว่าพวกเราชาวมิงก็เขียนโค้ดไม่เป็นค่ะ แต่เราก็สามารถสร้างเว็บไซต์ Mingketar ให้ออกมาดูดีระดับนึงได้ แถมเว็บไซต์นี้ยังสร้างมูลค่าให้กับเราได้อีกด้วย เห็นมั้ยล่ะคะ ? ว่าไม่ต้องเขียนโค้ดเป็นก็มีเว็บเป็นของตัวเองได้

2.ปรับแต่ง แก้ไขเว็บได้ยืดหยุ่นกว่า

หลังจากเว็บไซต์ Go Online ไปแล้ว แน่นอนว่าต้องมีการปรับแต่งหรือแก้ไขเว็บไซต์เพิ่มเติม ซึ่งเว็บไซต์ที่สร้างด้วย WordPress นี่แหละค่ะที่ปรับแต่งได้ง่ายมาก ๆ เช่น หากต้องการเปลี่ยนแบนเนอร์โปรโมชัน แก้สี Font แก้คำที่สะกดผิด เราก็สามารถแก้ไขได้เลยผ่านระบบหลังบ้าน ซึ่งถ้าเป็นเว็บที่เขียนโค้ดเองก็อาจจะใช้เวลาสักพักนึงกว่าจะแก้ไขได้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไม WordPress ถึงมีความยืดหยุ่นกว่า

3.รองรับการทำ SEO ให้ติดหน้าแรก Google

การทำ SEO คือ การปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดหน้าแรก Google เมื่อคนพิมพ์ค้นหาคีย์เวิร์ดต่าง ๆ เข้ามา การทำ SEO ไม่มีใครในโลกที่ควบคุมอันดับเว็บไซต์ได้เป๊ะ ๆ เพื่อให้เว็บไซต์อยู่ติดอันดับสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จึงต้องมีการปรับแต่งเว็บไซต์ตลอดเวลา ซึ่งเว็บไซต์ที่สร้างด้วย WordPress จะปรับแต่ง SEO ได้ง่ายกว่า เร็วกว่า มีปลั๊กอินที่ช่วยให้การทำ SEO สะดวกขึ้นด้วย เช่น Yoast SEO หรือ Rank Math

คลิกอ่านเพิ่มเติม : Yoast SEO คืออะไร ใช้ปรับแต่งเว็บไซต์ WordPress อย่างไร ให้ติดหน้าแรก Google

Plugin Yoast SEO สำหรับติดตั้งใน WordPress

ปลั๊กอิน Yoast SEO ช่วยให้การทำ SEO คล่องตัวยิ่งขึ้น

4.สร้างเว็บไซต์ได้หลากหลายแบบการใช้งาน

เว็บไซต์ WordPress ถือว่าตอบโจทย์การทำเว็บไซต์รูปแบบต่าง ๆ ที่คนในโลกนิยมใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ขายของออนไลน์ E-Commerce เว็บไซต์ธุรกิจ/องค์กร เว็บข่าว เว็บบล็อก เว็บคอนเทนต์ เจ้า WordPress ตัวดีนี่ก็ทำได้ครอบคลุมหมดเลย

5.ทำระบบสำคัญในเว็บได้ด้วย Plugin

Plugin คือ ระบบการทำงานต่าง ๆ ที่เอาไว้ติดตั้งใน WordPress เช่น หากเราต้องการทำระบบตะกร้าสินค้า ก็ไม่จำเป็นต้องมานั่งเขียนโค้ดเพื่อทำระบบนี้ เพียงแค่ติดตั้ง WooCommerce และตั้งค่าการใช้งาน ระบบตะกร้าสินค้าก็จะใช้งานได้ทันที แต่ใช่ว่าจะติดตั้งปลั๊กอินทุกตัวที่ต้องการได้นะคะ เราขอแนะนำให้ติดตั้ง Plugin ที่จำเป็นกับการใช้งานจริง ๆ จะดีกว่า ไม่งั้นเว็บไซต์จะช้าลงมาก ๆ ค่ะ

6.มีสิทธิ์เป็นเจ้าของเว็บไซต์ 100%

การสร้างเว็บไซต์ WordPress จะทำให้เป็นเจ้าของเว็บไซต์แบบเต็มตัวค่ะ ทีนี้จะทำอะไร ปรับแต่งส่วนไหนก็ได้ ไม่ต้องเสียเงินค่าใช้แพลตฟอร์มเป็นรายปี ซึ่งจะแตกต่างจากการใช้เว็บไซต์สำเร็จรูป ที่จะมีข้อจำกัดในเรื่องของการปรับแต่งต่าง ๆ ทำให้ใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ แถมยังต้องเสียค่าบริการรายปีที่แพงเอาเรื่องอยู่ด้วยค่ะ บางเจ้าปีนึงเรียกเก็บหลักหมื่นก็มี ทั้ง ๆ ที่การทำเว็บไซต์ WordPress จะเสียเงินรายปีแค่ค่า Domain + Hosting เท่านั้น อย่าง HostAtom ราคารวมต่อปีที่ต้องจ่ายก็ประมาณ 2,023 บาทเองค่ะ

7.ง่ายต่อการเก็บ Data ผู้ใช้งานเว็บไซต์

เว็บไซต์ WordPress จะรองรับการติดตั้ง Tracking Code ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลลูกค้า เช่น Google Analytics, Google Search Console, Google Tag Manager, Facebook Pixel ซึ่งทางผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายต่อได้ค่ะ เรียกได้ว่านำไปต่อยอดได้สบาย ๆ 

เปรียบเทียบ wordpress.org vs wordpress.com

ข้อดี-ข้อจำกัดของการสร้างเว็บไซต์ WordPress

ข้อดี

  • ใช้งานง่าย ปรับแต่งเองได้อย่างอิสระ 
  • ไม่มีความรู้เรื่องโค้ด ก็สร้างเว็บไซต์ได้ด้วยตัวเอง
  • ปรับแก้เว็บไซต์ขั้นพื้นฐานได้เร็วกว่า เช่น แก้สี Font, แก้คำผิด, เพิ่ม Banner Promotion
  • มี Theme WordPress ให้เลือกใช้งานเยอะ
  • มี Plugin รองรับการใช้งานหลากหลาย เช่น ระบบการชำระเงิน ระบบการจอง ฯลฯ ทำให้ไม่ต้องเขียนโค้ดทำระบบเหล่านี้เอง
  • เว็บไซต์ WordPress รองรับการทำ SEO อย่างเต็มรูปแบบ

ข้อจำกัด

  • การทำระบบใช้งานบางอย่างที่มีเงื่อนไขซับซ้อน ต้องให้โปรแกรมเมอร์เข้ามาช่วยปรับแก้
  • ต้องหมั่นอัปเดต Theme, Plugin, WordPress Version อย่างต่อเนื่อง
  • การติดตั้ง Plugin เยอะเกินไป ทำให้เว็บไซต์ช้าลง
  • มีปัญหาเรื่องการถูก Hack ได้ง่ายหากเลือกใช้ Theme หรือ Plugin ที่ผู้พัฒนาได้หยุดการอัปเดตปลั๊กอินไปแล้ว
  • หากเว็บไซต์มีข้อมูลเยอะจะทำให้ระบบ Server ทำงานหนักขึ้น อาจจะต้องอัปเดต Server ใหม่ เพื่อให้มีพื้นที่การใช้งานเพิ่มขึ้น
  • เว็บไซต์เสี่ยงเกิด Error ทุกครั้งที่ทำการอัปเดต Theme, Plugin, WordPress Version แต่มีโอกาสน้อยมาก ๆ ค่ะ นาน ๆ จะเจอสักครั้งนึง

วิธีติดตั้ง WordPress ผ่าน Hosting แบบที่ง่ายที่สุด

ขั้นตอนต่อไปนี้จะเป็นการติดตั้ง WordPress ผ่าน Hosting ที่มีชื่อว่า ‘Host Atom’ ที่พวกเราชาวมิงใช้บริการอยู่ค่ะ

1.กรอก User + Password เพื่อล็อกอินเข้า Hosting -> คลิกบริการ

กรอก User + Password เพื่อล็อกอินเข้า Hosting

ภาพแสดงระบบหลังบ้าน Hosting หลังล็อกอิน

2.คลิก Hosting ที่เรากำลังใช้บริการอยู่

คลิก Hosting ที่เรากำลังใช้บริการอยู่

3.คลิกเข้าสู่ Direct Admin

คลิกเข้าสู่ Direct Admin

4.คลิก WordPress

คลิก WordPress

5.คลิก Install Now

คลิก Install Now

6.กรอกข้อมูลต่าง ๆ ให้เรียบร้อยดังนี้

  • Choose Protocol : ถ้าเว็บไซต์เราทำ Https เรียบร้อยแล้ว ก็ให้เลือกเป็นแบบ Https ได้เลย แต่ถ้ายังไม่ทำให้เลือกเป็นค่า Default คือ Http
  • Choose Domain : เลือกโดเมนที่ต้องการติดตั้ง WordPress
  • In Directory : ปล่อยว่างเอาไว้ ไม่ต้องใส่ข้อมูล
  • Site Name : ใส่ชื่อเว็บไซต์ เช่น Mingketar
  • Site Description : ใส่ชื่อเว็บไซต์ เช่น Mingketar
  • Admin Account : ให้ตั้งค่า Username + Password + Admin Email (แนะนำว่าให้ตั้งค่า User ให้ยากต่อการคาดเดา ถ้าคิดไม่ออกก็กดคลิกที่รูปกุญแจให้ระบบ Generate ให้ค่ะ)

7.คลิกเลือก Theme ที่ต้องการ -> คลิก Select Theme -> จากนั้นระบบจะถามว่าเราต้องการให้รูปภาพเข้าไปอยู่ในเว็บไซต์หรือไม่ หากต้องการก็กด Yes ไม่ต้องการก็กด No  (เลือกอันไหนไปก่อนก็ได้ แล้วค่อยไปเป็น Theme ที่ซื้อทีหลัง) 

8.คลิก Install จากนั้นรอระบบติดตั้งให้เรียบร้อยแล้ว

กรอกข้อมูลต่าง ๆ ให้เรียบร้อย

9.หากขึ้นข้อความ ‘Congratulations, the software was installed successfully’ = เราติดตั้ง WordPress เรียบร้อยแล้ว

ติดตั้ง WordPress เรียบร้อยแล้ว

ภาพแสดงการติดตั้ง WordPress เรียบร้อยแล้ว

สร้างเว็บไซต์ WordPress ควรซื้อ Theme หรือไม่ ?

การสร้างเว็บไซต์ WordPress จำเป็นต้องใช้ Theme

แต่เราเลือกได้นะว่าจะใช้ Theme Free จากทาง WordPress หรือจะเสียเงินซื้อ Theme Premium สวย ๆ ที่เหมาะกับธุรกิจของเรา ซึ่งพวกเราชาวมิงมองว่าไหน ๆ จะทำเว็บไซต์ทั้งที ก็เลือกซื้อ Theme เจ๋ง ๆ สักตัวไปเลย เพราะจะได้รูปแบบเว็บไซต์ที่สวยงาม ปรับแต่งได้อิสระ แถมยังปลอดภัยต่อการใช้งานมากกว่าการใช้ของฟรีด้วยค่ะ

สร้างเว็บไซต์ระบบ WordPress ต้องเสียเงินไหม ?

เราสามารถเลือกได้ว่าจะทำเว็บไซต์ WordPress เอง หรือจะจ้างบริษัทรับ WordPress ถ้ามีเวลาเพียงพอต่อการศึกษา ลงมือทำเอง การสร้างเว็บ WordPress ด้วยตัวเองก็ถือว่าไม่ยากค่ะ เพราะปัจจุบันมีแหล่งเรียนรู้ฟรีมากมาย อย่าง Youtube หรือคอร์สเรียนจากคนเก่ง ๆ ท่านอื่น 

แต่หากไม่มีเวลาทำเว็บไซต์เอง การเลือกใช้บริการรับทำเว็บไซต์ WordPress จากบริษัทรับทำหรือฟรีแลนซ์ก็ถือว่าตอบโจทย์กว่าค่ะ โดยราคาทำเว็บไซต์แต่ละแบบ แต่ละธุรกิจจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับ Scope งาน และความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ลองนึกภาพตามก็ได้ว่าถ้าคุณอยากได้เว็บอย่าง Shopee แต่ดันมี Budget แค่ 20,000 แบบนี้ก็ทำเว็บให้ได้ไม่หรอกค่ะ จริงมั้ยล่ะ ?

สรุปการใช้ระบบ WordPress สร้างเว็บไซต์

ใครที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ที่มีรูปแบบการใช้งานง่าย สะดวกต่อการปรับแต่งเองในอนาคต การสร้างเว็บไซต์ด้วยระบบ WordPress ถือว่าตอบโจทย์แน่นอนค่ะ เพราะสร้างเว็บไซต์ได้หลายแบบไม่ว่าจะเป็นเว็บขายของออนไลน์ เว็บไซต์ธุรกิจ หรือเว็บบล็อกคอนเทนต์ ที่สำคัญ คือ ง่ายต่อการปรับแต่ง จ้างทำเว็บไซต์ไปแล้ว ก็นำเว็บไซต์กลับมาอัปเดตเองได้ (ถ้ามีเวลาทำ) ในแบบที่ไม่ต้องใช้โค้ดสักนิด 

ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้แล้วไม่แน่ใจว่าควรทำเว็บไซต์ WordPress แบบไหนดี ควรวางโครงสร้างเว็บไซต์อย่างไรให้ใช้งานง่าย สามารถทักมาพูดคุยกับพวกเราชาวมิงได้ฟรีเลยนะคะ เราจะช่วยออกแบบให้เลย ไม่คิดเงินสักบาท หากคุยถูกใจเคมีตรงกันจะว่าจ้างก็ค่อยว่ากันค่ะ