โครงสร้างเว็บไซต์
การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ ถือว่ามีความสำคัญมาก ๆ สำหรับการเริ่มต้นทำเว็บไซต์ หากเว็บไซต์มีการวางโครงสร้างของเว็บไซต์ที่ดี จะทำให้ผู้ใช้งานของเราเข้าใจภาพรวมของเว็บไซต์ได้ง่ายว่าเป็นเว็บไซต์เกี่ยวข้องกับอะไร
และยิ่งถ้าคุณต้องการให้เว็บไซต์ของคุณปรากฎอยู่บนหน้าแรกของ Google ก็ขอบอกเลยว่าไม่ควรมองข้ามการวางโครงสร้างเว็บไซต์เด็ดขาด ! ไม่ว่าจะเป็นการวางหน้าเว็บเพจ หน้า Post ฯลฯ โครงสร้างเว็บไซต์ควรมีการออกแบบให้เหมาะสม ซึ่งในบทความนี้ Mingketar จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์กันให้มากขึ้น
โครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure) คืออะไร
หากพูดแบบง่าย ๆ โครงสร้างเว็บไซต์ หรือ Web Structure คือ แผนผังหรือแผนที่ของเว็บไซต์นั่นเอง การวางโครงสร้างเว็บไซต์จะต้องบอกให้ผู้ใช้งานเข้าใจว่าเนื้อหาแต่ละเว็บเพจนำเสนอหัวข้อเกี่ยวกับอะไร มีประเด็นอะไรบ้าง
และการวางโครงสร้าง Website ของแต่ละเว็บเพจยังต้องเชื่อมโยง หรือ Link หากันอีกด้วย เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานจากหน้าเว็บเพจ A ไปยังอีกเว็บเพ็จ B ได้อย่างง่ายหรือสะดวกมากขึ้น
คลิกอ่านเพิ่มเติม : Homepage ( โฮมเพจ ) คืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง ต่างจากเว็บไซต์อย่างไร
ขอบคุณภาพจาก : https://wiseseo.guru/what-is-the-best-site-structure
ทำไมการออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ถึงมีความสำคัญ
การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ คือ การออกแบบแผนผังภาพรวมของเว็บไซต์ เพื่อให้เห็นว่าเว็บไซต์ที่เราทำเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร มีเนื้อหาอะไรบ้าง ซึ่งความสำคัญของการออกแบบเว็บไซต์จะมีดังนี้
- การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจภาพรวมของเว็บไซต์
- โครงสร้างการออกแบบเว็บไซต์ที่ดีจะทำให้ User และ Google Bot เข้าใจเว็บไซต์ของคุณ เหมือนป้ายบอกทางตามห้างสรรพสินค้า
- การออกแบบโครงสร้างของเว็บไซต์แบบชัดเจน ช่วยให้เว็บไซต์ติดหน้าแรกของ Google ได้ง่ายขึ้น เมื่อคุณทำ SEO
- การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ทำให้คุณบริหารจัดการข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น เพราะรู้อยู่แล้วว่าเว็บเพจใดเชื่อมโยงเข้าหากัน หากในอนาคตคุณมีแพลนที่จะ ปรับแต่งแก้ไข้ หรือ ขยายเว็บไซต์ก็จะทำให้จัดการเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น
คลิกอ่านเพิ่มเติม : สรุปมาแล้ว SEO คืออะไร มีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร
ขอบคุณภาพจาก : support.bigcommerce.com
โครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี ควรมีลักษณะเป็นอย่างไร
1.มีการจัดกลุ่มเนื้อหาที่ชัดเจน
เนื้อหา ข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการนำเสนอควรมีการจัดกลุ่มข้อมูลให้ชัดเจน เช่น หากเนื้อหาข้อมูลเป็นเรื่องเดียวกันหรือใกล้เคียงกันก็ควรให้อยู่ด้วยกัน
2.มีลำดับชั้นของการเสนอเนื้อหา
ส่วนนี้จะเป็นการไล่เรียงเนื้อหาจากภาพรวมให้มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น ภาพรวมหลัก ๆ เป็นเว็บไซต์ขายของ ลำดับชั้นที่ควรมีก็คือเป็นหมวดหมู่สินค้าต่าง ๆ
3.มีการเชื่อมโยงเนื้อหาที่ใกล้เคียงกันเข้าหากัน
ควรมีการเชื่อมโยง หรือ Link เว็บเพจที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถกดคลิกจากหน้าเว็บเพจนึงไปยังอีกเว็บเพจนึงได้
คลิกอ่านเพิ่มเติม : 10 สิ่งสำคัญ จ้างทําเว็บไซต์ ต้องรู้อะไรบ้าง ราคาเท่าไหร่ เลือกจ้างแบบไหนดีที่สุด ครบจบในที่เดียว
โครงสร้างเว็บไซต์แบ่งออกเป็นทั้งหมดกี่แบบ
1.Linear Structure โครงสร้างเว็บแบบเส้นตรง
Linear Structure เป็นการวางโครงสร้างเว็บไซต์แบบตรง มีการนำเสนอเนื้อหาแบบเป็นลำดับขั้นทีละหัวข้อ
มีการออกแบบโดยเริ่มจากหน้า Homepage เพื่อให้ User เข้ามาเจอก่อน หลังจากนั้นเมนูหลักต่าง ๆ ของเว็บไซต์จะพา User เข้าสู่เว็บเพจหน้าต่าง ๆ ตามลำดับ
การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์แบบ Linear Structure เหมาะกับเว็บขายสินค้าและบริการที่ต้องการให้มีการนำเสนอแบบเป็นลำดับขั้น ตัวอย่างเช่น Online Course ที่จะไล่เรียงเนื้อหาไปเรื่อย ๆ จนถึงเนื้อหาลำดับสุดท้าย
ขอบคุณรูปภาพจาก : https://www.edupointbd.com/different-structures-of-websites-ev/
2.Hierarchical Structure โครงสร้างเว็บแบบต้นไม้
Hierarchical Structure เป็นการวางโครงสร้างเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมมาก ๆ ยิ่งใครที่สร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress ก็จะได้โครงสร้างเว็บไซต์แบบนี้
โครงสร้างเว็บไซต์แบบต้นไม้นี้เหมาะกับเว็บไซต์เล็ก ๆ ที่มีไม่ถึง 10 หน้า รวมถึงยังเหมาะกับเว็บไซต์ขายของ E-Commerce ขนาดใหญ่อีกด้วย โครงสร้างเว็บไซต์แบบนี้มีข้อดีตรงที่ง่ายต่อการเก็บข้อมูลของ Google (Google Crawler) เพราะแต่ละหน้าเพจมีความสัมพันธ์กันโดยตรง
ขอบคุณรูปภาพจาก : https://www.edupointbd.com/different-structures-of-websites-ev/
3.Web Linked Structure โครงสร้างเว็บแบบเชื่อมโยงอิสระ
การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์แบบ Web Linked Structure มีหลักการง่าย ๆ คือ ‘ทุกเว็บเพจต้องเข้าถึงทุกเว็บเพจได้’ พูดแบบง่าย ๆ ก็คือ ไม่ว่า User จะเข้าใช้งานจากเว็บเพจใดก็ตามในครั้งแรก จะต้องสามารถเข้าถึงเว็บเพจอื่น ๆ ทุกหน้าได้ด้วยเช่นกัน
ทำให้การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์แบบนี้ไม่มีลักษณะตายตัว จะเชื่อมเว็บเพจด้วย Internal link อย่างไรก็ได้ ขอแค่เข้าถึงทุกหน้าบนเว็บไซต์ได้เป็นพอ
Web Linked Structure เหมาะกับเว็บไซต์ขนาดเล็กที่มีเว็บเพจไม่เกิน 10 หน้า หากมีหน้าเว็บเพจเยอะกว่านี้จะทำให้โครงสร้างเว็บไซต์มีความซับซ้อน ใช้งานยาก แถมยังทำให้การ Crawler จาก Google Bot ทำได้ยากอีกด้วย
ขอบคุณรูปภาพจาก : https://www.edupointbd.com/different-structures-of-websites-ev/
4.Hybrid Structure โครงสร้างเว็บไซต์แบบผสม
โครงสร้างเว็บไซต์แบบ Hybrid Structure จะยึดเอาโครงสร้างเว็บไซต์แบบ Hierarchical Structure (ต้นไม้) เป็นหลัก และจะเชื่อมโยงเว็บเพจอื่น ๆ ด้วยโครงสร้างเว็บไซต์แบบต่าง ๆ
แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ หากเว็บเพจไหนมีการ Link หาถึงบ่อย ๆ เว็บเพจนั้นก็จะมียอด Traffic เข้ามามากเป็นพิเศษ
คลิกอ่านเพิ่มเติม : 9 เว็บออกแบบเว็บไซต์ สร้างเว็บให้สวย ได้ด้วยตัวเองแบบไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก : https://www.edupointbd.com/different-structures-of-websites-ev/
ขั้นตอนการออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์
1.เป้าหมายของเว็บไซต์ต้องชัดเจน
ในการทำเว็บไซต์คุณต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ว่าเว็บไซต์ของคุณสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์อะไรกันแน่ เช่น เว็บไซต์สำหรับบอกเล่าเรื่องราว เว็บไซต์สำหรับขายสินค้าและบริการ ฯลฯ
2.รู้จัก User ผู้ใช้งานเว็บไซต์
การทำความรู้จักผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งสิ่งที่ต้องรู้จักผู้ใช้งานก็จะมีดังนี้
- ผู้เข้าชมเว็บไซต์ของเราคือใคร
- ผู้เข้าชมเว็บไซต์มีปัญหาหรือมีความต้องการอะไรบ้าง
- ทำไมผู้เข้าชมเว็บไซต์ถึงต้องการข้อมูลจากเว็บไซต์ของเรา
เมื่อเรารู้จักผู้ใช้งานเว็บไซต์แล้ว ก็จะช่วยให้เรากำหนดรายละเอียดเนื้อหาต่าง ๆ ในหน้าเว็บเพจได้ง่ายขึ้นตามไปด้วย พูดง่าย ๆ คือ เราจะได้นำปัญหาที่ผู้เข้าใช้งานเจอมานำเสนอในหน้าเว็บเพจ เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานได้นั่นเอง
3.เชื่อมโยง (Link) เว็บเพจแต่ละหน้า
ขั้นตอนสุดท้าย คือ การเชื่อม Link ภายในเว็บไซต์ หรือ Internal Link นั่นเอง
การทำ Internal Link จะทำให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์สามารถเข้าดูข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญ คือ สามารถกดคลิก Link เพื่อไปยังเว็บเพจต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
โดยการเชื่อมโยง Link เว็บเพจแต่ละหน้า จะต้องคำนึงเสมอว่า Link นั้น ๆ ต้องเข้าถึงได้ง่าย มีความเกี่ยวข้องกันและกันเสมอ
ภาพตัวอย่างโครงสร้างเว็บไซต์
ภาพต่อไปนี้ คือ ภาพการออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ขายของที่เกี่ยวข้องกับร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง
ขอบคุณภาพจาก : medium.com
การวางโครงสร้างเว็บไซต์ส่งผลต่อการทำ SEO อย่างไรบ้าง
- โครงสร้างการสร้างเว็บไซต์ที่ดี ทำให้เว็บไซต์เป็นมิตรกับ Search Engine
- การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี ช่วยเพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์ของคุณติดหน้าแรก Google ได้ง่ายขึ้น
- การวางโครงสร้างเว็บไซต์ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจภาพรวมของเว็บไซต์ และทำให้เว็บไซต์เป็นมิตรกับผู้ใช้งานมากขึ้น
- การวางโครงสร้างหน้าเว็บไซต์ในแต่ละเพจให้ดีช่วยให้ Google Bot เข้ามาเก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้น
การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ก่อนลงมือสร้างเว็บไซต์จริง ๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม การวางโครงสร้างเว็บไซต์ก็เป็นเหมือนการวางแผนผังให้กับเว็บไซต์นั่นเอง หากทำไม่ดีแต่แรกจะทำให้ User ไม่เข้าใจในตัวของเว็บไซต์ ยิ่งถ้าเป็นเว็บไซต์ที่ทำ SEO ด้วยแล้วก็จะส่งผลกระทบกับการทำอันดับด้วยเช่นกัน เพราะ Google Bot จะไม่เข้าใจ Sitemap ของเว็บไซต์นั่นเอง
เอาเป็นว่าหากคุณไม่แน่ใจว่าควรวางโครงสร้างเว็บไซต์แบบไหนดี ถึงจะเหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด ก็สามารถส่งเว็บไซต์มาให้บริษัทรับทำ SEO ช่วยแนะนำได้แบบฟรี ๆ ได้คำตอบเร็วภายใน 24 ชั่วโมง ไม่คิดค่าใช้จ่ายอะไรทั้งสิ้น ! คลิกปรึกษาเราผ่านช่องทางต่าง ๆ ตามด้านขวามือนี้ได้เลย !
คลิกปรึกษา SEO Specialist ฟรี
อยากเริ่มทำ SEO แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง ? ทักมาปรึกษา SEO Specialist ได้ฟรี ไม่คิดค่าใช้จ่ายอะไรทั้งนั้น นำคำแนะนำไปปรับเองได้เลย หากถูกใจเคมีตรงกันค่อยว่าจ้างใช้บริการรับทำ SEO ทีหลังค่ะ