Phishing คืออะไร วิธีป้องกันการถูกหลอกลวงออนไลน์

ฟิชชิ่ง คืออะไร

ในปัจจุบันโลกออนไลน์มีการเติบโตมากขึ้นทุกวัน มีผู้ใช้งานบนโลกอินเตอร์เน็ตและ Social Network เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สามารถเปิดตลาดในโลกออนไลน์ได้กว้างมากขึ้น ทำให้ผู้คนสามารถรู้จักกันได้ทุกพื้นที่ แต่หารู้ไม่ ตลาดออนไลน์ ที่เราใช้งานอยู่ทุกวัน มีอาชญากรรมทางไซเบอร์หรือ phishing attack ที่มีรูปแบบการทำงานโดยการ Link เพื่อให้ผู้ใช้ Social เป็นผู้มีส่วนร่วมด้วยการคลิกลิงค์และเกิดการฝังLink บางอย่างที่สามารถควบคุมหรือเก็บข้อมูล การหลอกลวง การสแกมเมอร์ รวมถึงการโจรกรรมทางไซเบอร์ ยิ่งปัจจุบัน phishing มีการขับเคลื่อนด้วย AI คือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ที่ทรงพลังมีความสามารถในการหลีกเลี่ยงการตรวจจับยิ่งน่ากลัว

Phishing คืออะไร

ฟิชชิ่ง (Phishing) หมายถึงอะไร : Phishing คือ ภัยคุกคามบนโลกออนไลน์ อีกหนึ่งประเภท มาในรูปแบบ การแสวงหาประโยชน์จากการหลอกลวงข้อมูล การยักยอกทรัพย์สิน รวมถึงการสแกมเมอร์อีกด้วย โดยมีเป้าหมายในการโจมตีไปยัง กลุ่มผู้ใช้งานบนโลกออนไลน์ กลุ่มธุรกิจออนไลน์ ตลาดออนไลน์ และรวมถึงพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ เป็นต้น โดยคำว่า ฟิชชิ่ง คือ การตกปลา ดังนั้น ฟิชชิ่ง (Phishing) จึงหมายถึง การตกบ่อล่อปลาหรือหลอกเหยื่อให้มีส่วนร่วมในการคลิกลิงค์ หรือติดตั้งลิ้งค์ปลอม ด้วยตัวเอง หลังจากนั้นอาชญากรที่สร้าง Link ปลอมเหล่านี้ จะทำการล้วงข้อมูลส่วนบุคคล เช่น รหัสผ่าน หมายเลขบัตรประชาชน และ หมายเลขบัตรเครดิต เป็นต้น

spear phishing คืออะไร

วิธีป้องกันตัวเองจาก Phishing Scam และภัยคุกคามออนไลน์

เมื่อเราพอทราบถึงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง คืออะไรแล้ว เราจึงมีวิธีป้องกัน ตัวเองจาก Phishing Scam และภัยคุกคามออนไลน์ เพื่อให้ธุรกิจออนไลน์ และธุรกิจตลาดออนไลน์มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยไม่ควรกดลิงค์ที่น่าสงสัยในลักษณะต่างๆ มีวิธีป้องกันตัวเองได้ดังนี้

  • ผู้ใช้งานควรเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้นในการใช้งานเว็บไซต์โดยเฉพาะ เว็บไซต์ที่มี คำว่า URL
  • ผู้ใช้งานควรตรวจสอบอย่างละเอียดเกี่ยวกับการเปิดลิงค์หรือคลิกลิงค์อีเมลต่างๆ เช่น Gmail และ Hotmail เป็นต้น รวมถึงเว็บไซต์ปลอมที่มีการฝัง Link ไวรัสประเภท Trojan และไวรัสในกลุ่มอื่นๆอีกด้วย
  • ผู้ใช้งานจำเป็นต้องตรวจสอบอย่างละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่มีความน่าสงสัย ซึ่งเว็บไซต์อย่างเป็นทางการต้องขึ้นต้นด้วย https เท่านั้น และไม่เป็นรูปแบบการกรอกรายละเอียดส่วนบุคคล เช่น username และ Password เป็นต้น

ประเภทของ ฟิชชิง รู้ทันทุกเทคนิคของมิจฉาชีพ

1. Phishing Email

Phishing Email คือรูปแบบการส่งข้อความหลอกลวงผ่านมาทางอีเมล มีการใช้งานในยุคแรกๆจนมาถึงปัจจุบัน เป็นอีเมลที่มีการส่งถึงผู้รับในรูปแบบการหว่านแหทั่วไป มีเนื้อหาที่ไม่ชัดเจน หรือไม่มีการระบุถึงผู้รับเป็นพิเศษ เช่น อีเมลรับเงินโบนัสต่างๆ อีเมลส่งเสริมการขาย และ อีเมลแจ้งยอด Google Play เป็นต้น

2. Web Phishing

ฟิชชิ่ง (phishing) ที่พบบ่อยมากไม่แพ้กัน มาในรูปแบบ web phishing คือการหลอกลวงหรือหลอกล่อให้เหยื่อทำการคลิกเข้าไปในเว็บไซต์ ที่เป็นสแปม หรือเว็บไซต์ปลอม แล้วทำการฝังลิงค์แฝง คนสามารถสังเกต URL ถ้าเป็นเว็บไซต์จริงขององค์กรในประเทศไทย ต้องลงท้ายด้วย co.th ถ้าเป็นลิงค์ปลอมอาจลงท้ายด้วย .com

3. Spear Phishing

Spear Phishing คือรูปแบบการหลอกลวงโดยมีกลุ่มเป้าหมาย มาในรูปแบบ phishing attack เป็นการโจรกรรมข้อมูลแบบมืออาชีพมากขึ้น ด้วยการแฝงตัวในรูปแบบ Email ในองค์กรนั้นๆ หรือใช้อีเมลที่คล้ายกับบุคคลในองค์กรนั้นๆ เพื่อติดตั้งอีเมลแฝงสำหรับการโจรกรรมข้อมูลและความลับที่สำคัญต่างๆ

4. Angler Phishing

Angler Phishing เป็นเทคนิคในการหลอกลวงรูปแบบใหม่ มีการเฝ้าติดตามเหยื่อหรือเป้าหมายทางโซเชียลมีเดีย ในแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อสังเกตพฤติกรรมการเล่นโซเชียลมีเดียของเหยื่อ โดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหาขึ้น มิจฉาชีพจะสวมรอย เป็นเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลใกล้ตัวเพื่อทำการหลอกลวงทันที

Search engine phishing คืออะไร

5. Search Engine Phishing

search engine phishing คืออะไร search engine phishing คือการหลอกลวงที่มีเทคนิคโดยอาศัย เครื่องมือค้นหาโดยอาศัยการทำให้เว็บไซต์ติดอันดับต้นๆการค้นหาบนหน้าแรกของ Google ด้วยการใช้ keyword คำค้นหาบ่อยๆ ซึ่งนี้รูปแบบการทำในลักษณะต่างๆผ่านการจ้าง เช่น เอเจนซี่ทำ SEO และ จ้างทํา SEO เป็นต้น เมื่อเหยื่อได้ทำการคลิกเข้าไป จะถูกฝัง Link ที่แฝงมาทันที

6. CEO Fraud Phishing

CEO Fraud Phishing คือรูปแบบการโจมตีของอาชญากรที่มีเป้าหมายเป็นเจ้าหน้าที่หรือบุคคลระดับสูงขององค์กรต่างๆ โดยการแฮกหรือปลอมเป็นบุคคลระดับสูงขององค์กรเพื่อหลอกเหยื่อ โดยส่วนใหญ่มีการส่งอีเมล เพื่อทำการเร่งกระบวนการให้เร็วกว่าปกติ จนทำให้เหยื่อเกิดความกังวล และทำกิจกรรมบางอย่างโดยที่ไม่มีการตรวจสอบให้ดี ซึ่งผลที่ตามมาอาจทำให้ได้รับความเสียหายและตกเป็นเหยื่อได้อย่างรวดเร็ว

7. Smishing Phishing

การหลอกเหยื่อด้วยวิธี ฟิชชิ่ง ประเภท Smishing Phishing คือคือรูปแบบการหลอกเหยื่อด้วยวิธีส่งข้อความอัตโนมัติหรือ หรือระบบ SMS จากเบอร์โทรศัพท์ ทั้งเบอร์โทรส่วนบุคคล และเบอร์โทรจากหน่วยงานรัฐ ด้วยการอ้างเป็นองค์กรทั้งเอกชนและของรัฐหลอกล่อให้เหยื่อเกิดการคลิกข้อความ หรือเว็บไซต์ปลอมจากมิจฉาชีพ ดังนั้นควรตรวจสอบ SMS ให้ดีทุกครั้งก่อนคลิกเข้าไปดู

8. Vishing Phishing

Vishing Phishing คือรูปแบบการหลอกลวงประเภท Voice and phishing scam ซึ่งหมายถึงการหลอกลวงเหยื่อด้วยเสียง หรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ รวมถึงการสแกมเมอร์อีกด้วย ซึ่งมีรูปแบบการหลอกลวงคือการโทรมาอ้างเป็นจากองค์กรหรือหน่วยงานรัฐ เช่น สรรพากร ไปรษณีย์ ธนาคาร และบริษัทขนส่ง เป็นต้น

9. Whaling Phishing

Whaling Phishing คือรูปแบบของการหลอกลวงที่มุ่งเป้าไปยังเหยื่อที่เป็นกลุ่มเฉพาะ เช่น บุคคลระดับสูงผู้บริหาร และผู้จัดการ เป็นต้น ซึ่งมิจฉาชีพจัดส่งอีเมลที่มีเนื้อหาสร้างความหวั่นวิตก ถึงขั้นวิกฤตร้ายแรง ถ้าไม่ทำตามจะได้รับผลกระทบต่อธุรกิจอย่างร้ายแรง เช่น งานที่มีความเร่งด่วนพิเศษ หมายศาล และหมายจับ เป็นต้น

Mingketar

Phishing (ฟิชชิ่ง) คืออะไร รวบคำถามที่พบบ่อย

ตอบ ภัยคุกคามที่มีการหลอกลวงบนโลกออนไลน์ มาในรูปแบบ การแสวงหาประโยชน์จากการหลอกลวงข้อมูล การยักยอกทรัพย์สิน รวมถึงการสแกมเมอร์อีกด้วย

การส่งอีเมลเพื่อข่มขู่โจมตีเป้าหมายอ้างว่าทำผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นบุคคลที่มีตำแหน่งระดับสูง ถ้าไม่ทำตามอาจเกิดผลร้ายแรงถึงขั้นวิกฤตได้ เช่น หมายจับหรือหมายศาล และงานเร่งด่วนพิเศษ เป็นต้น

การหลอกลวงผ่านเสียงหรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์รวมถึงแก๊งสแกมเมอร์อีกด้วย

การหลอกลวงผ่านอีเมลปลอม ส่งเข้าไปในองค์กรต่างๆเพื่อต้องการล้วงข้อมูลสำคัญในองค์กรนั้นๆ

ตอบ มีการเฝ้าติดตามดูเหยื่อผ่านแพลตฟอร์ม Social ต่างๆ  ต่างๆ รอจังหวะสวมรอย เพื่อหลอกเหยื่อตลอดเวลา

ตอบ มีวิธีการหลอกลวงอยู่ 2 รูปแบบ คือการหลอกลวงในโลกอินเตอร์เน็ตและโซเชียล การหลอกลวงแบบเจาะจง และการหลอกลวงแบบส่งลิงก์ไปเรื่อยๆ

ตอบ การหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง คือการส่งลิงค์ปลอม การแอบอ้างจากหน่วยงานรัฐและเอกชน ในเชิงข่มขู่ ทำให้ตกใจ ทุกคนสามารถตรวจสอบข้อความ ลิงก์ต่างๆ ให้แน่ชัดและไม่ควรกดติดตั้ง หรือยอมรับใดๆทั้งสิ้น และที่สำคัญไม่ควรเชื่อใครง่ายๆ

ตอบ การแสวงหาประโยชน์จากการหลอกลวงข้อมูล การยักยอกทรัพย์สิน และการสแกมเมอร์

ปกป้องธุรกิจของคุณจาก Phishing ด้วยเว็บไซต์ที่ปลอดภัยจาก Mingketar

Mingketar เราให้บริการรับทำเว็บไซต์ wordpress + seo ครบวงจร รับทำเว็บธุรกิจ องค์กร ร้านค้าอีคอมเมิร์ชด้วยปลั๊กอิน Woocommerce รับทำเว็บไซต์โดยเน้นหลัก SECURITY หมดกังวลเรื่องความปลอดภัยบนเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นการถูกแฮกเว็บไซต์ เจาะระบบ การโจมตีด้วยสคริปต์ หรือการโจมตีแบบฟิชชิ่ง ข้อมูลองค์กร ธุรกิจไม่รั่วไหล เราออกแบบเว็บไซต์ให้ดูดี รองรับการติดอันดับด้วยการปรับแต่ง seo นอกจากนั้นยังให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับหนึ่ง จ้างผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเว็บไซต์ ไม่ผิดหวัง ถ้าคุณไม่ถนัดดูแลเว็บไซต์เอง เรายินดีให้บริการ

ตัวอย่างเว็บ WordPress ธุรกิจองค์กร
คลิกติดต่อ Mingketar ทำการตลาดออนไลน์

Mingketar = มาร์เก็ตติ้ง รับทำเว็บไซต์ wordpress จ้างทํา SEO นึกถึงเรา รับออกแบบเว็บไซต์ทำเว็บไซน์ที่มีความน่าเชื่อถือ ไม่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้งาน ลูกค้าเข้าถึงธุรกิจคุณง่ายขึ้นได้รับประสบการณ์ที่ดี เรารับทำเว็บไซต์โดยเน้นหลัก SECURITY ให้ความสำคัญกับการปรับแต่งที่มีคุณภาพ รองรับการติดตอันดับ รับทำ seo ครบวงจร ที่ผ่านมามีผลงานมากมายทำเว็บโดยผู้เชี่ยวชาญ ไม่มีเวลาดูแลเว็บ ให้เราช่วย พร้อมซัพพอร์ต ให้คำปรึกษาฟรี

MINGKETAR SERVICE

สร้างเว็บไซต์ให้ถูกใจลูกค้า และ Google ไม่ว่าจะธุรกิจไหน ๆ ก็ติดหน้า 1 ของ Google ได้ เซฟงบโฆษณาได้หลายเท่าตัว ธุรกิจเติบโตระยะยาวแบบมั่นคง